Campaign URL
Copy
Twitter
0
tweets
Subscribe
Past Issues
RSS
Translate
English
العربية
Afrikaans
беларуская мова
български
català
中文(简体)
中文(繁體)
Hrvatski
Česky
Dansk
eesti keel
Nederlands
Suomi
Français
Deutsch
Ελληνική
हिन्दी
Magyar
Gaeilge
Indonesia
íslenska
Italiano
日本語
ភាសាខ្មែរ
한국어
македонски јазик
بهاس ملايو
Malti
Norsk
Polski
Português
Português - Portugal
Română
Русский
Español
Kiswahili
Svenska
עברית
Lietuvių
latviešu
slovenčina
slovenščina
српски
தமிழ்
ภาษาไทย
Türkçe
Filipino
украї́нська
Tiếng Việt
กีบอ่อน
View this email in your browser
CowNews 31:
จดหมายโคนม
ปีที่2 ฉบับที่ 31
วันที่ 15 มิถุนายน 2564
เยื่อใยที่กระตุ้นเคี้ยวเอื้องและการประเมินค่า: 1
การให้อาหารโคนมผลผลิตสูงไม่ใช่ว่าจะให้กินอะไรก็ได้ การให้กินต้องไม่กระทบสมดุลกระเพาะอาหารโค ซึ่งมีปัจจัยมากระทบตั้งแต่สัดส่วนอาหารข้นอาหารหยาบ อายุการตัดพืช ปริมาณแป้งและน้ำตาล แต่ที่จะมีผลกระทบทันทีคือขนาดความยาวชิ้นอาหารหยาบ ตัวอย่างเช่น หญ้าหรือต้นข้าวโพดที่ตัดมา 1 กก. กับเมล็ดข้าวโพดบด 1 กก. เท่ากัน ด้วยความที่มีขนาดชิ้นยาวไม่เท่ากัน หญ้าชิ้นยาวจะกระตุ้นการเคี้ยวเอื้อง แต่เมล็ดข้าวโพดบดจะไม่กระตุ้นการเคี้ยวเอื้องเลยเพราะมีขนาดเล็กมาก หรือหญ้าแห้งที่ตัดมาชิ้นยาวจะกระตุ้นให้โคกินอาหารเคี้ยวเอื้องได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่หากเอามาบดละเอียดแบบรำอ่อน หญ้าก็จะไม่มีความสามารถในการกระตุ้นการเคี้ยวเอื้องได้เช่นกัน
การใช้เทคนิคใหม่คือ ค่าเยื่อใยที่กระตุ้นการเคี้ยวเอื้อง หรือ effective fiber หรือค่า physically effective NDF (peNDF) ค่า NDF คือค่าเยื่อใยที่ไม่ละลายในสารละลายที่เป็นกลาง เป็นค่าเยื่อใยดีที่จะบ่งบอกความสามารถในการกินได้มากน้อยของโค ซึ่งหากเอามาคำนวณร่วมกับสัดส่วนความยาวชิ้นอาหารก็จะเรียกเป็น peNDF ในตอนแรก Dr.Mertens ได้ใช้ตะแกรงขนาด 1.18 มม. เพียงชั้นเดียวมากรองแยกอาหารทีเอ็มอาร์เพื่อประเมินในโคนมทั่วไป โดยแนะนำว่าอาหารทีเอ็มอาร์ควรมีค่ามากกว่า 22% โคจึงจะไม่มีปัญหาสุขภาพแต่อย่างใด ปัจจุบันพอโคให้น้ำนมมากขึ้น งานวิจัยระบุว่าควรใช้ตะแกรงขนาด 4.0 มม.จะได้ผลดีขึ้นกว่าเดิมและอาหารทีเอ็มอาร์ที่ใช้ตะแกรง 4.0 มม. ควรมีค่ามากกว่า 22% เช่นกัน
5 กลยุทธ์แก้ปัญหากีบเท้าอ่อน 2:
ปัญหาที่เกิดมากในช่วงฤดูฝนคือโรคกีบเท้าอักเสบ จนเป็นสาเหตุหลักในการคัดทิ้ง โครีดนมจะมีกิจกรรมการเดินมากสุดความเสี่ยงจึงมากสุด ป้องกันปัญหานี้ใช้หลัก 5 ข้อ ดังนี้
3. การปล่อยแปลง ในระบบการเลี้ยงโครีดน้ำนมในโรงเรือน ควรจัดให้มีโซนพื้นดินที่เป็นลานกว้างพอให้โคได้ออกมาเดินพักตากแดด จะช่วยให้กีบแข็งขึ้น อีกทั้งโคป่วยหรือมีปัญหากีบเท้าจะลุกยืนได้ง่ายกว่าบนพื้นดิน แต่หากฝนตกพื้นดินแฉะก็ไม่ควรปล่อยโคออกลานดินจะมีผลเสียมากกว่าทั้งกีบอ่อนและเต้านมอักเสบที่อาจเพิ่มขึ้น
4. บ่อจุ่มกีบเท้า สร้างให้มีความลึกที่สามารถจุ่มเท้าโคได้ลึก 10 ซม. ใช้จุนสีหรือคอปเปอร์ซัลเฟตความเข้มข้น 2-5% และเปลี่ยนน้ำยาทุก 200-400 ตัว ขึ้นกับความสะอาดของกีบเท้าโค หากมีการล้างกีบก่อนเข้าจุ่มจะทำให้ใช้น้ำยาได้มากตัว
5. การแต่งกีบเท้าโค การหมั่นแต่งกีบที่ถูกต้อง ช่วยให้โคยืนได้ดีและขาสามารถกระจายรับน้ำหนักตัวได้ดีกว่าโคที่ไม่ตกแต่งกีบเท้า แนะนำให้แต่งกีบเท้าโคปีละ 1-2 ครั้ง เริ่มทำครั้งแรกในวันพักรีดน้ำนมโคและซ้ำรอบสองที่ 150 วันหลังคลอด
แก้ปัญหาโรงรีดนมให้กระชับเวลา
เคยมีปัญหากับทีมงานโรงรีดน้ำนมถึงการทำงานไม่ได้ตามกำหนดไหม? แนวทางแก้ไขปัญหาสามารถตรวจสอบตามรายการต่อไปนี้ เพราะล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้การทำงานโรงรีดขาดประสิทธิภาพ
1.ใช้เวลานำโคเข้ารีดน้ำนมนานเกินไป
โรงเรือนออกแบบไม่ได้มาตรฐาน บริเวณลานกักวัวกว้างยาวเกินจึงทำให้ไล่ต้อนได้ยาก การแบ่งกลุ่มเข้ารีดไม่ได้สัดส่วน คนต้อนวัวน้อยและไม่รีบส่งวัวในแต่ช่วงเข้าออกโรงรีด คนงานไม่เข้าใจพฤติกรรมวัว มีวัวดื้อในฝูงหลายตัวที่ควรคัดทิ้งไป มีวัวเจ็บขามาก การปล่อยเวลาให้โครอเข้ารีดนานมีผลทำให้น้ำนมลดได้มาก
2. ใช้เวลาทำความสะอาดหัวนมนานเกินไป
เมื่อโรงพื้นเลี้ยงโคสกปรก ตัวโคจึงเปื้อนมาก เต้านมสกปรกมากจึงทำให้คนทำงานได้ล่าช้า โรงเรือนควรแห้งสะอาด จัดการเอามูลออกให้บ่อย รวมทั้งหากซองรีดสั้นยาวไม่ได้ขนาดและโคขยับไปมาได้จะทำให้ทำงานได้ช้า
3.ใช้เวลาสวมหัวรีดนมนาน
คนรีดไม่ทำตามขั้นตอนรีดน้ำนม ใช้ความเคยชินและสะดวกตนเอง รวมทั้งคนรีดเดินสลับกันไปมาตลอดหลุมรีด ไม่แบ่งหน้าที่ให้ชัดเจน ทำงานไม่ตามลำดับ จึงทำให้ใช้เวลาในการสวมหัวรีดนานไป ชุดรีดนมไม่ได้มาตรฐานหัวใหญ่เล็กไม่ได้ขนาดกับโคในฟาร์มจึงทำให้ชุดรีดร่วงหลุดบ่อย มีโคดื้อที่ต้องมัดขาหลายตัว อาจพิจารณาคัดทิ้งไป
4.ใช้เวลารีดนานเกินไป
คนงานไม่อยู่ประจำตำแหน่ง หรืออาจมีงานหลายหน้าที่ทำให้ใช้เวลารีดนานกว่าปกติ โคเริ่มรีดน้ำนมไม่พร้อมกันทุกตัวในแถว หรือมีการสวมหัวรีดนมซ้ำๆหลายรอบทำให้โคปล่อยน้ำนมไม่สม่ำเสมอ จึงรีดนานกว่าปกติ
5.ใช้เวลาอื่นนานไป
มีงานอื่นรบกวนคนงาน คนรีดทำงานอื่นนอกเหนือหน้าที่ คนรีดกับคนไล่โคคนเดียวกัน หรือมีการรักษาโคในซองรีดไปด้วย
ดังนั้นการกระชับเวลารีดนมจะช่วยให้ทั้งรีดน้ำนมได้เร็วและได้น้ำนมปริมาณมากเพราะโคไม่เครียดจากการเสียเวลารอเข้ารีดนานเกินไป มีเวลากลับไปกินอาหารหลังรีดนมและได้นอนพักผ่อนมากขึ้น การปรับปรุงเวลาจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพคนงาน สุขภาพและผลผลิตโคในอีกทางหนึ่ง
ข้อมูลโคคลอดใหม่ที่จำเป็นต้องมี: 2
โคคลอดใหม่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำกำไรฟาร์ม ต้องเลี้ยงในคอกหรือโรงเรือนที่แห้งสะอาด มีการถ่ายเทของอากาศที่สะดวก ที่นอนแห้งไม่มีมูลโคปนเปื้อนบนที่นอน ข้อมูลแรกที่ต้องให้ความสำคัญคือ ข้อมูลคะแนนร่างกายโค และแนวทางป้องกันการเกิดโรคเต้านมอักเสบและโรคเกี่ยวกับการกินอาหาร ในเครื่องรีดนมสมัยใหม่จะมีค่าอุณหภูมิน้ำนมและค่าความต่างศักย์ (conductivity) ของน้ำนมที่รีดที่จะช่วยให้ทำนายการเจ็บป่วยของโคได้ง่าย แต่หากไม่มีให้ติดตามวัดอุณหภูมิร่างกายโคคลอดใหม่แทนได้
ต่อมาข้อมูลที่ต้องนำมาประกอบการจัดการโคคลอดใหม่ช่วง 3 เดือนแรกเพิ่มเติมอีกคือ อุณหภูมิความชื้นในโรงเรือน ข้อมูลการกินอาหารรายวันรายตัว อากาศที่ร้อนชื้นจะทำให้โคกินอาหาลดลง เพราะการระบายความร้อนออกจากตัวทำได้น้อยและช้า ข้อมูลคะแนนการเดินและกีบเท้าจะช่วยให้จัดการแยกโคเดินลำบากออกมารักษาก่อนที่จะลามป่วยเป็นโรคอื่นตามมาอีก โคเดินไม่ได้จะสัมพันธ์กับการกินได้น้อย แข่งขันตัวอื่นไม่ได้ ขาดน้ำทำให้มีปัญหาสุขภาพในที่สุด การหาแนวทางนำข้อมูลมาช่วยตัดสินใจให้ไวขึ้น จะทำให้สามารถรักษาโคให้มีสุขภาพแข็งแรงตลอดช่วงให้ผลผลิตน้ำนม
CowNews:อ่านข่าวโคนม เข้มด้วยสาระ กดสมัคร(Subscribe) รับข่าวฟรีก่อนใคร
https://mailchi.mp/72011a04d254/free-e-newsletter
CowTalk:ฟังเสียงโคนม ชัดเจนทุกที่ ฟังที่นี่
https://anchor.fm/virote-pattarajinda
สนใจโฆษณาติดต่อที่ Virotekku@gmail.com
หรือไลน์ QR
เสนอแนะ/สอบถามที่ Email: virotekku@gmail.com
ข้อเขียนในจดหมายโคนมเป็นการนำเสนอข้อมูลที่อิสระ โปรดใช้ดุลพินิจในการรับข่าว
Free Issue
This email was sent to
farminpleangoffice@gmail.com
why did I get this?
unsubscribe from this list
update subscription preferences
ศ.ดร.วิโรจน์ และ สพ.ญ.วิภาพร ภัทรจินดา · 75/100 · ซ.วีระวรรณ ถ.หน้าเมือง · เมือง, ขอนแก่น 40000 · Thailand